ผลงานวิชาการ ของ แมร์แยม มีร์ซอฆอนี

เมื่อจบปริญญาเอก เธอเข้าทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันคณิตศาสตร์เคลย์และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันก่อนจะไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดใน พ.ศ. 2552[12]

นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2557 มีร์ซอฆอนีในภาพกำลังอุ้มลูกสาวของเธออยู่

มีร์ซอฆอนีได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์ใน พ.ศ. 2557 จากงานวิจัยเกี่ยวกับผิวรีมันและปริภูมิมอดุลัสของผิวรีมัน[13] ซึ่งเธอเป็นผู้หญิงคนแรกและชาวอิหร่านคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

เธอนิยามตัวเองว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ "ช้า" เธอเชื่อว่าต้องทุ่มเทและตั้งใจเพื่อที่จะได้เห็นความงามของคณิตศาสตร์ ขณะที่เธอกำลังขบคิดปัญหา เธอจะวาดรูปการ์ตูนแล้วทดสมการคณิตศาสตร์ที่เธอคิดรอบตัวการ์ตูนที่เธอวาด ลูกสาวของเธอใช้คำว่า "วาดภาพ" เมื่อพูดถึงวิธีการทำงานของมีร์ซอฆอนี[14][15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แมร์แยม มีร์ซอฆอนี http://www.bbc.com/persian/science-40617509 http://www.mehrnews.com/news/4029259/%D9%85%D8%B1%... http://mmirzakhani.com/biography/ http://people.com/human-interest/iranian-born-mary... http://news.stanford.edu/2017/07/15/maryam-mirzakh... http://news.stanford.edu/news/2008/april9/prezrepo... http://news.stanford.edu/press-releases/2017/07/15... http://theory.stanford.edu/~jvondrak/data/cv.pdf http://www.presstv.ir/Detail/2017/07/13/528317/Ira... http://www.presstv.ir/Detail/2017/07/15/528535/Ira...